Latest Android :
Recent Android

แอนดรอยด์ ใช้ดีจริงหรือ




ระบบ ปฎิบัติการแอนดรอยด์กลายเป็นหัวข้อสำคัญของปีนี้ ที่หลายๆฝ่ายต่างก็พูดในทำนองเดียวกันว่ามันจะต้องเกิดแน่นอน มันจะต้องฆ่าระบบปฎิบัติการอื่นๆ และมันจะต้องมียอดจำหน่ายทะลุเป้ามากกว่า iPhone ที่เคยทำมาก่อน ซึ่งผมเองก็ได้ยินเรื่องแบบนี้มานานหลายเดือนก่อนที่จะได้เครื่อง PDA phone ในระบบแอนดรอยด์มาอยู่ในมือเพื่อทำการทดสอบ ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นระบบปฎิบัติการใหม่แกะกล่องที่ผมเองเคยผ่านมือมาแค่ ชะแว๊บๆ แต่เมื่อมีโอกาสได้ลองสัมผัส แอนดรอยด์เวอร์ชั่นจริงๆ เป็นเวอร์ชั่นที่จะออกขายในช่วงประมาณ ต้นเดือน มิถุนายนนี้ ซึ่งก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนครับว่า ผมไม่มีคู่มือการใช้ระบบปฎิบัติการนี้ อาศัยการเรียนรู้จากการทดสอบและค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆเป็นหลัก ดังนั้น การทดสอบในครั้งนี้อาจจะไม่ครอบคลุมเท่าไรนัก เป็นประสบการณ์จากที่ผมเจอเอง เล่นเองมาล้วนๆ และระบบปฎิบัติการ แอนดรอยด์ที่จำหน่ายในแต่ละประเทศมันก็ไม่เหมือนกันด้วย ก่อนอื่นขอพูดความแตกต่างของเวอร์ชั่นที่ผมได้มาก่อนก็แล้วกัน

1.ไม่มี icon ของ Android Market ซึ่งจะไม่สามารถหาโปรแกรมมาลงเพิ่มเติมได้แบบ online
2.ไม่มี GMail / Google Map/You tube
3.ไม่มี HTC Suite โปรแกรมสำหรับการ Sync ข้อมูลมีแต่ Sync ได้กับ MS Exchange server เท่านั้น

และ ในบทความนี้ผมไม่ได้มาเล่าหรือ review เจ้าตัว HTC Magic นะครับเพียงแต่ใช้มันเป็นพรีเซ็นเตอร์ ในการทดสอบและทำความรู้จักกับแอนดรอยด์ ซึ่งส่วนรีวิว HTC magic นั้นเอาไว้ค่อยเล่าแยกอีกบทความต่างหาก



บุคลิคของระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์

1.เข้าใจง่าย ทำงานเร็ว
2.ต้องใช้นิ้วอย่างเดียวใช้ Stylus ไม่ได้
3.เน้นการใช้งานแบบ เชื่อมต่อ GPRS เอาไว้ตลอด
4.ข้อมูลส่วนมากต้องเก็บไว้ใน Card เช่น ไฟล์เพลง หนัง ภาพ
5.การปรับแต่งทำได้พอสมควร ไม่มากเท่าไร
6.มีเมนูแอบซ่อนไว้เยอะ ต้องศึกษาคู่มือเทคนิคพิเศษเหล่านี้
7.ระบบ Multitasking แบบกึ่งๆไม่เท่ากับพวก Windows mobile
8.ข้อจำกัดในแต่ละประเทศเยอะ เครื่องรุ่นเดียวกันแต่คนละประเทศก็มีเมนูและ service ต่างกันไป
9.เน้นตลาดกลุ่มเดียวกับ iPhone แต่ก็ไม่บันเทิงจ๋าเท่ากับ iPhone

- ความเร็วในการทำงาน

สิ่ง ที่ผมรอและคาดหวังมานานเกี่ยวกับระบบปฎิบัติการตัวนี้ก็คือเรื่อง Speed การทำงานที่เลื่องชื่อลือชามานานแสนนาน และการจากสัมผัสลองใช้เครื่องจริงผมพบว่าเครื่องรุ่นนี้มันทำงานได้เร็วสมใจ อยากจริงๆ เรื่องความเร็วการทำงานของระบบผมว่าไม่แพ้ทางฟากของ iPhone เลยหละ และหากเทียบกับ Windows Mobile ในความรู้สึกผมเอง ผมว่ามันทำงานได้เร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจนทีเดียว



- ระบบภาษาไทย

เรื่อง ระบบภาษาไทยในเครื่อง ต้องบอกเลยว่าในตอนนี้มันสมบูรณ์แล้วครับด้วยฝีมือของทางค่าย CN ที่ทำระบบภาษาไทยบนเครื่อง Windows mobile ในตอนนี้ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ สามารถแสดงผลหน้าจอทุกโปรแกรมเป็นภาษาไทยได้แล้ว รวมทั้งการชมเว็บบน Browser ของเครื่องเอง และการ input หรือการป้อนข้อมูลนั้นในตอนนี้ก็สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แล้วครับ แต่จะต้องใช้การจิ้มด้วยนิ้วเพียงอย่างเดียว แบบเขียนยังไม่ได้



- Cut/Paste

แน่ นอนว่ามันเป็นประเด็นที่คนต่อว่า iPhone มาตั้งแต่ออกเครื่องรุ่นแรกว่าทำเครื่องมาก็ดีแต่ทำไมลืมใส่ ฟังค์ชั่น Cut and Paste แต่ในระบบปฎิบัติการ แอนดรอยด์ มีคำสั่ง ก๊อบปี้ และ แปะให้มาครบครับ สามารถเลือกข้อความแบบ select text ได้อีกด้วย ซึ่งพอมีคำสั่งนี้เข้ามามันเลยทำให้เครื่องสมบูรณ์เต็มตัว แต่การใช้งานจริงนั้นการเลือกข้อความด้วยนิ้ว และการพิมพ์ข้อมูลด้วยนิ้วก็ยังยากกว่าการใช้ Stylus อยู่ดี ผมขอให้คะแนนเรื่องการบริการข้อมูล และการจัดการข้อมูล text ต่างๆในเครื่อง แอนดรอยด์ว่า ยังทำได้ไม่ประทับใจเท่า Windows Mobile ครับ เพราะเรื่องการป้อนข้อมูลนั้น ยังไงนิ้วก็แพ้ Stylus อยู่ดี ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งกันแล้ว



- ระบบสัมผัสเต็มรูปแบบ

หน้า จอของ PDA phone ในระบบแอนดรอยด์ นั้นจะแตกต่างจากเครื่องรุ่นอื่นๆเพราะเป็นจอแบบ capacitive screens ( ไม่มีระบบ Multi Touch) แต่มันจะไปเหมือนกับของ iPhone ซึ่งจะต้องใช้นิ้วของเราเองในการป้อนคำสั่ง ไม่สามารถใช้ Stylus ได้ ซึ่งข้อดีของระบบแบบนี้ก็คือ มันช่วยให้การใช้นิ้วเลื่อนเมนู และเลือกเมนูต่างๆได้อย่างแม่นยำกว่าพวกเครื่อง Windows mobile ที่พยายามทำเลียนแบบการใช้นิ้ว ซึ่งจะใช้แล้วหงุดหงิดกว่ามาก แต่ข้อเสียของหน้าจอแบบนี้ก็คือการพิมพ์ข้อความ โดยเฉพาะภาษาไทยนั้นจะพิมพ์ได้ลำบากกว่าการใช้ Stylus โดยเฉพาะนิ้วใครใหญ่ๆ จะรู้สึกอึดอัด แต่จากากรเปรียบเทียบการพิมพ์บนหน้าจอ จาก Keyboard เสมือน เมื่อเทียบกับของ iPhone ในรูปแบบ Keyboard ภาษาไทยเหมือนกัน ในระบบแอนดรอยด์พิมพ์ได้แม่นยำกว่าครับ



- ความเสถียร

ใน เครื่องที่ผมทำการทดสอบมีโปรแกรมติดตั้งเสริมมาบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะโปรแกรมภาษาไทยและ Plug in อื่นๆ ซึ่งจากการทดสอบโดยวัดจากตัวระบบ OS ของ แอนดรอยด์เองนั้น การทำงานของเค้าค่อนข้างเสถียรมาก ไม่ว่าจะเป็นภาคการใช้งานด้าน PDA และด้านการใช้งานโทรศัพท์ หากเทียบกับ Windows mobile หรืออื่นๆ ผมว่า แอนดรอยด์ มีความเสถียรค่อนข้างสูงจากตัว OS ของเค้าเอง ตั้งแต่เล่นมาหลายวัน ยังไม่เจออาการเครื่องค้างแต่อย่างใด แต่ในอนาคตหากมีการติดตั้งโปรแกรมอื่นๆเพิ่มเข้ามา โอกาสความเสถียรก็ย่อมลดลงตาม เพราะมีโอกาสเสี่ยงในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของโปรแกรมที่เพิ่มเข้ามานั่นเอง หากเทียบกับ iPhone วัดกันตัวต่อตัว เรื่องความเสถียรและความเร็วนั้นน่าจะพอๆกันครับ แต่ iPhone เวลาใช้งานด้านโทรศัพท์มีอาการ บ๊องๆ โชว์ให้เห็นอยู่เรื่อยๆ แต่สำหรับ แอนดรอยด์ ในตอนที่ผมทดสอบอยู่นี้ค่อนข้างพอใจกับเรื่องความเสถียรมาก

- ความง่ายในการใช้งาน

ความ ง่ายในการใช้งานของ แอนดรอยด์ ผมให้คะแนน 8 เต็ม 10 ก็แล้วกันเพราะมันเป็นระบบปฎิบัติการที่ไม่ซับซ้อนในการใช้งานเลย ซึ่งความง่ายก็น่าจะพอๆกับ iPhone ชนิดที่ว่าเปิดเครื่องมาแล้วใช่ได้เลยโดยไม่ต้องเปิดคู่มือศึกษาแต่อย่างไร ส่วนอีก 2 คะแนนที่ขาดไป ผมตัดคะแนนเพราะว่า แอนดรอยด์ มันเป็นระบบปฎิบัติิการที่มีเมนู ซ่อนเอาไว้ เหมือนเล่นเกมส์มาริโอ ที่ต้องคอยเดาๆว่า จะมีเมนูพิเศษอะไรซ่อนอยู่หรือไม่ ตัวอย่างเช่น icon บนหน้าจอ Home Screen หากดูผ่านๆก็คิดว่า icon ธรรมดา แต่หากแตะค้างเอาไว้มันจะพองตัวออก แล้วสามารถเลื่อนย้ายไปไหนต่อไหนได้ หรือลากลงถังขยะก็ได้เช่นกัน ขออีกสักตัวอย่างก็แล้วกัน เช่นการเปลี่ยน Keyboard เป็นภาษาไทย จะต้องเอานิ้วไปแต่ที่ช่อง search ในเครื่องค้างไว้ แล้วจะมีเมนู input เด้งโชว์ขึ้นมา



พื้น ฐานหลักในการใช้งานของระบบปฎิบัติการนี้คือ เข้าไปหน้าโปรแกรมไหนก็ตาม ลองกดปุ่ม Menu หน้าเครื่องดูก่อนเลยมันจะมีคำสั่งการทำงานต่างๆให้เราใช้ซ่อนอยู่ สรุปเรื่องความง่ายในการใช้งานผมว่า แอนดรอยด์ใช้เป็นจุดขายได้เลยครับ แต่คนใช้ก็ควรอ่านคู่มือก่อนเพื่อได้ประสิทธิภาพการใช้เต็มที่



- การปรับแต่ง

การ ปรับแต่งตัวระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์นั้นผมถือว่ามันมีการปรับแต่งได้ไม่ค่อย มากเท่าไร ผมกำลังพูดถึงเครื่องแบบเดิมๆที่ออกจากโรงงาน ตัวระบบปฎิบัติการนั้น ในเมนู Setting มันมีค่าการปรับแต่งได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ Windows mobile ส่วนมากเป็นการปรับแต่งแบบพื้นฐานมากกว่า เช่นเปลี่ยนเสียงเรียกเข้า เปลี่ยนแบล็คกราวด์ แต่จะเด่นหน่อยก็ตรงหน้าจอ Home Screen ที่ปรับ icon ได้ค่อนข้างเยอะกว่า แต่ยังไงก็ยังแพ้พวก Windows Mobile ที่ปรับแต่งได้ชนิดถึงพริกถึงขิง ในการใช้งานบางครั้งก็มีหงุดหงิดบ้างเหมือนกันว่า ทำไมมันปรับตรงโน้น ตรงนี้ไม่ได้หนอ แต่หากเป็นผู้ใช้ที่ชอบอะไรง่ายๆ แอนดรอยด์หนะใช่เลย ง่ายแน่ไม่ยุ่งยาก และหากเทียบกับ iPhone ผมว่าการปรับแต่งได้พอๆกันครับ





- การดูหนังฟังเพลง

การ ดูหนังฟังเพลงจะมีตัวโปรแกรม Player ที่ชื่อว่า Music ในเครื่องอยู่แล้วสามารถเลือกเล่นเพลงได้ตามใจชอบในฟอร์แมต MP3, M4A (iTunes application AAC, DRM-free), AMR, WMA (8), MIDI, WAV, OGG Vorbis ข้อจำกัดคือต้องเก็บไฟล์ใน Card เท่านั้น แต่การจะ View ข้อมูล Video รวมถึงภาพถ่ายต่างๆนั้นจะต้องไปเลือกจากโปรแกรมที่ชื่อว่า Gallery ซึ่งจะเป็นจุดรวม Multi Media ต่างๆในเครื่อง โปรแกรม Music สามารถเลือกเพลง และสร้าง Playlist และปกเพลงได้ เราสามารถใช้เพลงในเครื่องสร้างเป็น Ring tone ส่วนตัวได้จากหน้าโปรแกรม Music นี้ ซึ่งมีอินเตอร์เฟสที่ดูสวยงามน่ารักดีครับ และเข้าใจง่ายอีกด้วย





- การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ระบบ ปฎิบัติการแอนดรอยด์นั้น ออกแบบสำหรับการใช้งานด้าน Internet เป็นหลัก ไม่ว่าจะค้นหาข้อมูล หรือการทำงานในโปรแกรมบางอย่าง เอะอะ ก็จ้องเชื่อมต่อเข้าโลก Online ก่อนเลย แต่มันก็เป็นสิ่งที่ดี ตรงที่เราก็ได้ข้อมูลแบบสดๆอัพเดทล่าสุดตลอดเวลา ดังนั้นระบบปฎิบัติการนี้มันจะต้อง เชื่อม Net ไว้ตลอดเวลาไม่มีปุ่ม Disconnect การเชื่อมต่อ GPRS ใดๆทั้งสิ้น แนะนำว่าหากใครจะใช้ แอนดรอยด์ ต้องสมัคร Package การใช้งานแบบ Unlimit เอาไว้ก่อนเลยนะครับ สำหรับการใช้งานดูเว็บบน Browser ของ แอนดรอยด์ อารมณ์การใช้งานจะเหมือนกับบน iPhone ที่ใช้ Safari สามารถเลือกหน้าที่จะดูได้ สามารถ Zoom in/ out ของหน้าเว็บเพจได้









- การใช้งานด้านโทรศัพท์

โปรแกรม การใช้งานโทรศัพท์ในระบบปฎิบัติการ แอนดรอยด์ นั้นมาในรูปแบบเรียบๆง่ายแต่ใช้งานได้ดีมากครับ มีปุ่มการทำงานต่างๆจัดเรียงได้ดูสวยงาม เมนูไม่ซ้บซ้อน บนหน้าจอหลักของโปรแกรมโทรศัพท์จะมีเพียง Keypad บนหน้าจอ และ List รายชื่อ Call History แต่เมื่อเรากดปุ่ม menu ด้านล่างจะพบคำสั่งอีกสามอย่างคือ Contact / Call log และ Favorites การโทรออกนั้น โปรแกรมโทรศัพท์จะมีฟังค์ชั่น Smart Dialing ในตัวสามารถเดา ชื่อและหมายเลขที่เราจะโทรไปหาให้ได้ โดยรวมๆแล้วผมชอบนะครับ ใช้ง่ายดี กดก็แม่นำดีมาก ไม่มีอาการดีเลย์ เวลาสลับสายเรียกซ้อน








สรุปรวมๆ

เท่า ที่ผมทดลองใช้งานมา ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ถือว่าเป็นระบบปฎิบัติการที่ทำงานได้เร็ว ง่ายและค่อนข้างเสถียรแต่การปรับแต่งในส่วนต่างๆยังไม่ค่อยได้เท่าที่ใจต้อง การ เมนูต่างๆจัดวางเรียงได้ถูกใจและใช้ได้ง่ายมาก แต่บางสิ่งบางอย่าง แอนดรอยด์ก็เหมือนกับว่าจะทำหลงๆลืมๆไปบ้าง ระบบปฎิบัติการนี้หลายๆส่วนพยายามอิงกับการเชื่อมต่อ อินเตอรืเน็ตเป็นหลัก เรื่องการ Sync ข้อมูลผมเองยังไมได้ลอง HTC Suite ว่าจะ Sync ได้ดีแค่ไหน แต่หากตัว แอนดรอยด์เดิมๆนั้น การจะ Sync กับ Outlook จะต้องไปผ่านทาง Google เป็นตัวกลาง เช่น บริการ Google Calendar การเก็บข้อมูลต่างๆ แอนดรอยด์เน้นเก็บข้อมูลลง Card เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็สะดวกดีครับในการ Back up หรือเคลื่อนย้ายข้อมูล ในมุมมองของผม ผมว่าแอนดรอยด์ยังต้องพัฒนาอีกพอสมควร ในอตนนี้ระบบพื้นฐานต่างๆก็ถือว่ามาได้ค่อนข้างดีแล้ว แต่จุดขายเด่นๆยังไม่โชว์ชัดสักทีเดียว มันเป็นระบบปฎิบัติการที่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่อยากเรียนรู้ หรือยุ่งยากกับการใช้งานพีดีเอโฟนมากนัก และมีการทำงานที่เร็วทันใจไม่ทำให้ผู้ใช้หงุดหงิดเหมือนใช้ Windows Mobile ที่มันช้าบ้างเร็วบ้าง แฮ๊งค์บ้าง หากใครใช้พวกระบบปฎิบัติการ Linux มาก่อนก็น่าจะพอเดาอารมณ์ของแอนดรอยด์ได้ว่ามันน่าจะเป็นรูปแบบไหน

ข้อจำกัด

-ไม่มีโปรแกรม Wireless modem ในเครื่อง ( มี Software ติดตั้งภายหลัง)
-มี GPS แต่ไม่มีโปรแกรมนำทาง
-ไม่มีโปรแกรม note / task
-ไม่มี Disconnected data
-ถ่ายรูปต้องมี SD Card
-ไม่มีรู Reset ใช้วิธีถอดถ่านออกแล้วทิ้งสักครู่แล้วใส่กลับไปใหม่
-การ Sync กับ Outlook ปกติต้องผ่านทาง Google Application เป็นตัวกลาง


ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก...

แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)

แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance[2] ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น
แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance[3] กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
โทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551[4]
ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication

เนื้อหา

Android (แอนดรอยด์)
สัญลักษณ์ปัจจุบันของแอนดรอยด์
Android 2.3
Android 4.0 (Galaxy Nexus)
บริษัท / ผู้พัฒนา กูเกิล Flag of the United States , Open Handset Alliance
สถานะ พัฒนา
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
Free and open source software
วันที่เปิดตัว 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551; 1241 วันก่อน
รุ่นเสถียร 4.0.x (ไอศกรีมแซนวิช)
/ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554; 234 วันก่อน
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
ARM, MIPS, Power Architecture, x86
ชนิดเคอร์เนล Monolithic (ลินุกซ์)
ลิขสิทธิ์ Apache 2.0 and GPLv2[1]
เว็บไซต์ android.com



ตัวอย่างสมาร์ตโฟน HTC EVO 4G ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์


รายละเอียดรุ่นของแอนดรอย์ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2553
   
รุ่นระบบปฏิบัติการ
รุ่นพัฒนาของแอนดรอยด์จะใช้รหัสชื่อเป็นชื่อขนมหวาน โดยมีตัวอักษรขึ้นต้นเรียงลำดับกัน
รุ่น ชื่อเล่น ลินุกซ์ เคอร์เนล เปิดตัว
1.0

5 พฤศจิกายน 2550
1.1

9 กุมภาพันธ์ 2552
1.5 Cupcake (คัพเค้ก) 2.6.27 30 เมษายน 2552[6]
1.6 Donut (โดนัท) 2.6.29 15 สิงหาคม 2552 (SDK)
2.0/2.1 Eclair (เอแคลร์) 2.6.29 26 ตุลาคม 2552 (2.0) [7]
12 มกราคม 2553 (2.1 SDK) [8]
2.2 Froyo (โฟรซเซนโยเกิร์ต) 2.6.32[9] 20 พฤษภาคม 2553 (SDK)
2.3 Gingerbread (ขนมปังขิง) 2.6.35[10] 6 ธันวาคม 2553 (SDK)
3.0/3.1 Honeycomb (รังผึ้ง) 2.6.36[11] 22 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK)
4.0 Ice Cream Sandwich (แซนด์วิชไอศกรีม) [12] 19 ตุลาคม 2554 (SDK)

แอนดรอยด์มาร์เก็ต

แอนดรอยด์มาร์เก็ต (Android Market) เป็นร้านซอฟต์แวร์ออนไลน์ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาโดยกูเกิล โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงมาร์เก็ตได้ผ่านซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า "Market" ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ โดยในมาร์เก็ตจะแบ่งเป็นสองส่วนหลักคือ แอ๊ป (Apps) และ เกม (Games)
แอ๊ปที่อยู่ในมาร์เก็ตจะมีทั้งแอ๊ปที่แจกให้ดาวน์โหลดฟรี และแอ๊ปที่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ โดยการซื้อขายนั้นผู้ขายจะได้รายได้ 70% จากราคาเต็ม[13] โดยในปัจจุบันจะมีเพียงไม่กี่ประเทศที่สามารถซื้อแอ๊ปได้ ได้แก่ ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ สเปน สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา[14] ส่วนแอ๊ปฟรีนั้นสามารถดาวน์โหลดได้ทุกประเทศ เว้นแต่ว่าแอ๊ปบางตัวที่ทางผู้ผลิตจำกัดประเทศของผู้ดาวน์โหลด

รายชื่อโทรศัพท์มือถือและTabletที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

รายชื่อส่วนหนึ่งของโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยชื่อในวงเล็บเป็นชื่อทางการค้าอื่น




 Acer
  • Acer A1 Android
  • Acer beTouch E110
  • Acer beTouch E120
  • Acer beTouch E130
  • Acer beTouch E140
  • Acer E210
  • Acer E400
  • Acer Liquid A1 (S100)
  • Acer Liquid E (S100E)
  • Acer Liquid mini (E310)
  • Acer Liquid E Ferrari (S100F)
  • Acer Stream (S110)
  • Acer Liquid Metal (S120)
  • Acer Iconia Smart
  • Acer Iconia Tab A 100
  • Acer Iconia Tab A 101
  • Acer Iconia Tab A 500
  • Acer Iconia Tab A 501
Dell
  • Dell Mini 3i
  • Dell Aero
  • Dell Streak
  • Dell Dell Streak 7
  • Dell XCD28
  • Dell XCD35
  • Dell Venue
Garmin
  • Garminfone
Google
  • Galaxy Nexus
  • Nexus S
  • Nexus One (HTC Passion)
HTC
  • HTC Desire Z
  • HTC Desire HD
  • HTC Aria
  • HTC Desire
  • HTC Dream (T-Mobile G1, Era G1, ADP1)
  • HTC Espresso (MyTouch 3G Slide)
  • HTC Evo 4G (HTC Supersonic)
  • HTC Hero (HTC Droid Eris, T-Mobile G2 Touch)
  • Droid Incredible
  • HTC Legend
  • HTC Magic (HTC Sapphire, T-Mobile myTouch 3G, DoCoMo HT-03A, ADP2)
  • HTC Passion (Nexus One)
  • HTC Tattoo (HTC Click)
  • HTC Wildfire
  • HTC HD2
  • HTC Evo 3D
  • HTC Wildfire S
  • HTC Desire S
  • HTC Incredible S
  • HTC Sensation
  • HTC Sensation XE
  • HTC Sensation XL
  • HTC Rhyme
  • HTC Explorer
Huawei
  • U8220
  • U8230
i-mobile
  • i-mobile 6010
  • i-mobile 8500
  • i-mobile i858
  • i-mobile i680
  • i-mobile i691
  • i-mobile i692
  • i-mobile i693
  • i-mobile i-note
  • i-mobile i-note lite

LG
  • GW620 Eve
  • GT540 Optimus
  • Andro-1
  • OptimusOne
  • LG ally (Aloha)
  • Optimus Black
  • Optimus 2X
  • Optimus 3D
  • Optimus Net
  • Optimus Sol

Motorola
  • Motorola Backflip
  • Motorola CLIQ (Motorola DEXT)
  • Motorola CLIQ XT (Motorola Quench, Motorola MB501)
  • Motorola Devour
  • Motorola Droid (Motorola Milestone)
  • Motorola Droid X
  • Motorola Droid 2
  • Motorola XOOM
  • Motorola DEFY
  • Motorola ATRIX
Samsung
  • Samsung Behold II
  • Samsung Galaxy Spica (Samsung i7500)
  • Samsung Galaxy Cooper (Galaxy Ace)
  • Samsung Galaxy S (Samsung i9000)
  • Samsung Galaxy SL (Samsung i9003)
  • Samsung Galaxy S II
  • Samsung Galaxy 551 i5510
  • Samsung Galaxy Mini
  • Samsung Galaxy Tab
  • Samsung Galaxy Y
Sony Ericsson
  • XPERIA X10 (SO-01B)
  • XPERIA X10 Mini
  • XPERIA X10 Mini Pro
  • XPERIA ARC (SO-01C)
  • XPERIA NEO
  • XPERIA PRO
  • XPERIA PLAY
  • XPERIA Mini
  • XPERIA Mini PRO
  • XPERIA W8 WALKMAN
Spriiing
  • Spring Smile
WellcoM
  • WellcoM A66
  • WellcoM A68
  • WellcoM A88
  • WellcoM A99
GNET
  • GNET A1 G
  • GNET A2
  • GNET A3
  • GNET A4
  • GNET A5
  • GNET A6
  • GNET A7
  • GNET A8
  • GNET A9
  • GNET A10

อ้างอิง

  1. ^ "Licenses". Android Open Source Project. Open Handset Alliance. http://source.android.com/license. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-10-22.
  2. ^ Open Handset Alliance (2007-11-05) Industry Leaders Announce Open Platform for Mobile Devices ข่าวหนังสือพิมพ์ เรียกดูเมื่อ 2007-11-05
  3. ^ Open Handset Alliance member
  4. ^ "T-Mobile Unveils the T-Mobile G1 - the First Phone Powered by Android", HTC. สืบค้นวันที่ 2009-05-19
  5. ^ Android Platfrom version
  6. ^ Ducrohet, Xavier (27 April 2009). "Android 1.5 is here!". Android Developers Blog. http://android-developers.blogspot.com/2009/04/android-15-is-here.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-09-03.
  7. ^ "Android 2.0, Release 1". Android Developers. http://developer.android.com/sdk/android-2.0.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 27 October 2009.
  8. ^ "Android 2.1, Release 1". Android Developers. http://developer.android.com/sdk/android-2.1.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 17 January 2010.
  9. ^ Swetland, Brian (7 February 2010). "Some clarification on "the Android Kernel"". lwn.net. http://lwn.net/Articles/373374/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-02-21.
  10. ^ http://developer.android.com/sdk/android-2.3-highlights.html
  11. ^ http://developer.android.com/sdk/android-3.0-highlights.html
  12. ^ http://developer.android.com/sdk/android-4.0-highlights.html
  13. ^ "Android Market Developer Distribution Agreement (USA)". android.com. http://www.android.com/us/developer-distribution-agreement.html.
  14. ^ Supported locations for merchants

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บอย่างเป็นทางการ
เว็บในไทย
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. www.ThaiAndroidzone.com - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger